Translate

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์



เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันคือส่วนแรกนั้นจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ หรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เช่น จอภาพ ซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ส่วนที่สอง เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมต่างๆที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการส่วนสุดท้ายเรียกว่า พีเพิลแวร์ (Peopleware) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น พนักงานป้อนข้อมูล, นักเขียนโปรแกรม,นักวิเคราะห์ระบบทั้งสามส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย


1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วย      
ต่างๆ 4 หน่วยดังนี้
1.1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
1.2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
1.3. หน่วยความจำ (Memory Unit)
1.4. หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit)

  
สำหรับการทำงานของแต่ละหน่วยสามารถเขียนแผนภาพได้ดังนี้



หน่วยรับข้อมูล
ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน 
สำหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เมาส์ (Mouse)
สแกนเนอร์ (Scanner)
แทร็คบอล (Trackball)
จอยสติ๊ก (Joystick)
จอภาพสัมผัส (Touch Screen)
กล้องดิจิตอล (Digital Camera)




หน่วยประมวลผลกลาง
ทำหน้าที่ในการประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ


หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลาโดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน
หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลขเป็นการคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุม


หน่วยความจำ
ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย



          - จอภาพ (Monitor)
          - เครื่องพิมพ์ (Printer)
          - ลำโพง (Speaker)
          - พล็อตเตอร์ (Plotter)



2. ซอฟต์แวร์




ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออาจเรียกว่า โปรแกรมก็ได้ ซึ่งหมายถึง คำสั่งหรือชุดของคำสั่ง ซึ่งสามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องสั่งเป็นขั้นเป็นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่าโปรแกรมผู้ที่เขียนโปรแกรมดังกล่าวก็จะเรียกว่านักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมนั้นจะต้องใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ 
ซึ่งหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น


ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
หมายถึงโปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับ
ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์



ซอฟต์แวร์ประยุกต์(ApplicationSoftware)
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้นจนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้นหรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน


3. พีเพิลแวร์ (Peopleware)



พีเพิลแวร์ (Peopleware) หมายถึงเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้การฝึกอบรมและประสบการณ์ในการทำงานสำหรับบุคลากรในหน่วยงานจะ
แบ่งออกได้ดังนี้

- ยูสเซอร์ (User)
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst)
- นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
- วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)


เข้าถึงข้อมูลได้ที่   http://www.ratsada.ac.th/web/web2/page9.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น